วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ผักกาดหอม


บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง                            การปลูกผักกาดหอม
ผู้จัดทำโครงงาน           นางสาวเพ็ญพิกามาศ     จรกรณ์
ครูที่ปรึกษาโครงงาน   นางสาวลัดดาวัลย์       ศิริวงษ์
สถานศึกษา                  โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์  อำเภอไพรบึง   จังหวัดศรีสะเกษ
โครงงานการปลูกพืชสวนครัว  การปลูกผักกาดหอม  ตามแนวพระราชดำรัส  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว  ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน







คำนำ
            โครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว เป็นโครงงานที่บูรณาการการเรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนและและครอบครัวที่ไม่มีรายได้   ให้สามารถมีอาหารเลี้ยงท้องและครอบครัวอยู่ได้    อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีงานทำมีรายได้   ด้วยการนำแหล่งอาหารเข้าไปในครัวเรือนโดยการปลูกผักสวนครัว    นอกจากนั้นยังมุ่งหวังที่จะกระต้นให้นักเรียน     หันมาสนใจการผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือนด้วยตนเอง   เพื่อลดค่าใช้จ่าย  โดยได้เรียนรู้ด้วยวิธีปฏิบัติจริง  สามารถฝึกความอดทนในการทำงาน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
              โครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว   ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู   ผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูล  การเขียนรายงานและการจัดทำโครงงาน  จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
            ผู้จัดทำโครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว ขอขอบคุณท่านที่ให้ความอนุเคราะห์มา  ณ  โอกาสนี้


                                                                                                             จัดทำโดย
นางสาวเพ็ญพิกามาศ    จรกรณ์
                                                                                           1  กันยายน   2555

กิตติกรรมประกาศ
            การทำโครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว สำเร็จลุล่วงด้วยการได้รับความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  อาจารย์ลัดดาวัลย์      ศิริวงษ์   ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงจนสำเร็จด้วยดี ผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
                ขอขอบคุณนายสมบูรณ์ แก้วกันหา ผู้อำนวยการโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ที่ให้ความอนุเคราะห์ ด้านสถานที่ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการทำโครงงานด้วยดีและเสมอมา
 บทที่1
 บทนำ

1.1  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
              จากสภาพปัญหาเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่ปี   2540    ก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในวัยใช้แรงงานโดยทั่วไปเนื่องจากถูกเลิกจ้างงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ    แรงงานเหล่านี้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและประสงค์ประกอบอาชีพการเกษตรโดยแนวทางพระราชดำรัสปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียง”    แต่ปัญหาการว่างงานยังคงรุนแรงและขยายผลกระทบออกไปทั้งในสังคมเมืองส่วนกลาง  และสังคมภูมิภาคด้วย   จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการเกษตรยังชีพขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขและรองรับปัญหาแรงงานที่ว่างงานจำนวนหนึ่งโดยภาคราชการให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ประชาชนและคนว่างงานได้ทำการเกษตรยังชีพซึ่งจะช่วยให้มีอาหารไว้เลี้ยงครอบครัวตนเองโดยใช้พื้นที่ตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน
            จากระราชดำรัส  เมื่อวันที่  4  ธันวาคม  2540  ที่ว่า  “....การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เราพออยู่  พอกิน  และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมี  พอกิน    แบบพอมี  พอกิน  หมายความว่า  อุ้มชูตัวเองได้  ให้มีพอเพียงกับตัวเอง.....” 
            “เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้วรายได้ของประเทศที่ได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญ  และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ
            พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก้บัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เมื่อวันที่  4 กรกฎาคม  2507  พระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน  พระองค์ได้แสดงให้เห็นว่า เมืองไทยจะน่าอยู่หากพัฒนาประเทศไทยใช้การเกษตรเป็นพื้นฐาน
จากพระราชดำรัสดังกล่าว  ผู้จัดทำได้น้อมนำพระราชดำรัสตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยเล็งเห็นถึงสภาพพื้นที่ที่ว่างจำนวนมาก เช่นพื้นที่หลังอาคารเรียน  จึงได้ปลูกผักสวนครัวใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นระหว่างเรียน
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
     1.   เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาแนวคิด  แนวปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
     2.  เพื่อให้เกิด ความรู้  ความเข้าใจ ทักษะ และการเรียนรู้ การปลูกพืชสวนครัว
                 3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    4. สร้างรายได้แก่ผู้ปลูกและลดรายจ่ายของครอบครัว
1.3 ขอบเขตการศึกษา
 “การปลูกถั่วฟักยาว”  เป็นโครงงานที่ศึกษาเพื่อนำทรัพยากรที่ใช้พื้นที่ของตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน
      1.ประชากร  ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
      2.  ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาและมาปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 16  ก.ค. 2555 ถึงวันที่  3 ก.ย. 2555
      3.  สถานที่ทำโครงงาน  ดำเนินการปลูกถั่วฟักยาวที่โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์

1.4 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
      1. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์   อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ                        องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
      2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่เรียนอยู่โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2554
      3. เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
      4. พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
      5. พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      6. ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ฝึกฝน , และอบรม
       7.  ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เสาะหาเอามา
      8. ผักกาดหอม Lettuce  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lactuca sativa Linn ผักกาดหอม หรือที่เรียกกันว่าผักสลัด ผักกาดยี ผักพังฉ้าย เป็นต้น ผักกาดหอมมีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปและเอเชีย นิยมบริโภคส่วนของใบ
       9.  ดิน   หมายถึง  วัตถุที่เกิดจากการรวมตัวตามธรรมชาติของเศษหินและแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กๆกับอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุผังรวมตัวกันเป็นชั้นๆ
     10. น้ำ  หมายถึง  สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช
     11. แสงแดด  หมายถึง  อิทธิพลของการงอกและการเจริญเติบโตของพืช
     12. ปุ๋ย  หมายถึง  ธาตุอาหารของพืช

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
      1.สามารถนำหลักเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมี  พอกิน   มาใช้ในชีวิตประจำวัน
      2. เป็นการสนับสนุนการปลูกถั่วฟักยาวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      4. เพื่อเป็นข้อมุลสำหรับโรงเรียน
      5. สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน











บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1 ความพอเพียงตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สุเมธ ตันติเวชกุล(2542 : 1) ได้บรรยายพิเศษถึงความเป็นมาของ เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ กษัตริย์นักพัฒนาซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชน ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้มากขึ้นโดยลำดับ จนในปัจจุบันได้มีตัวอย่างและงานวิจัยรองรับว่าการดำเนินชีวิตตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยให้สังคมไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนเห็นด้วย และเชิดชู แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ จนทำให้ในที่สุด ได้ถูกนำมาบรรจุเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันบนเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรมเงื่อนไข คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เงื่อนไข ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)
3 ห่วง ประกอบด้วย 
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
มีภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข ประกอบด้วย
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Hakan Bjorkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนา ประเทศแบบยั่งยืน
2.2 ลักษณะทั่วไปของผักกาดหอม
ผักกาดหอมปลูกได้ดีกับดินทุกชนิดแต่ชอบดินร่วน สามารถปลูกได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับพันธุ์แต่ละพันธุ์ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
1.ผักกาดหอม ห่อหัว คล้ายกระหล่ำปลี (Head Lettuce)
2.ผักกาดหอมชนิดธรรมดา ไม่ห่อหัว (Laef Lettuce)
3.ผักกาดหอมที่มีลำต้นยาว (Stem Lettuce)
อายุการเก็บเกี่ยวที่ปลูกในบ้านเรานั้น พันธุ์ใบเลือกเก็บขณะใบยังก่อนอยู่ ใบกรอบ ไม่เหนียว อายุประมาณ 40-50 วัน พันธุ์ห่อหัวเก็บขณะห่อเข้าห้วแน่น ไม่หลวม รูปร่างค่อนข้างกลมแบน อายุหัวประมาณ 50-70 วัน
พันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 ชนิดคือ
1.ผักกาดหอมห่อ เป็นพวกห่อหัว
2.ผักกาดหอมใบ ไม่ห่อตัว
2.3  ลักษณะทางพฤกศาสตร์
                  ชื่อวิทยาศาสตร์        Lactuca sativa
                  ชื่อสามัญ                  Lettuce
                  วงศ์                          Asteraceae
      ชื่ออื่นๆ                     ผักสลัด ผักกาดยี  พังฉ้าย
2.4  ลักษณะ
               ราก : รากของผักกาดหอมเป็นระบบรากแก้ว มีรากแก้วที่แข็งแรงอวบอ้วน และเจริญอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อปลูกในดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นเพียงพอ รากแก้วสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้ถึง 5 ฟุต หรือมากกว่าแต่รากแก้วจะเสียหายในขณะที่ย้ายปลูก ดังนั้นรากที่เหลือจะเป็นรากแขนง ซึ่งแผ่กระจายอยู่ใต้ผิวดินประมาณ 1-2 ฟุต โดยปริมาณของรากจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น ไม่ค่อยแพร่กว้างออกไปมากนัก อย่างไรก็ตามการย้ายปลูกนั้นมีผลดีในการช่วยให้ผักกาดหอมประเภทหัวห่อหัวได้ดีขึ้น
            ลำต้น : ลำต้นของผักกาดหอมในระยะแรกมักจะมองไม่ค่อยเห็น เนื่องจากใบมักจะปกคลุมไว้ จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อระยะแทงช่อดอก ลักษณะลำต้นผักกาดหอมจะตั้งตรง สูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วน ถ้าปลูกในที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2 นิ้ว ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น แต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ
            ใบ : ใบแตกออกมาจากลำต้นโดยรอบ สีใบมีตั้งแต่เขียวอ่อน  เขียวปนเหลือง จนถึงสีเขียวแก่ บางพันธุ์มีสีแดงหรือน้ำตาลปนอยู่ ทำให้มีสีแดง บรอนซ์ หรือน้ำตาลปนเขียว พันธุ์ที่ห่อเป็นหัวจะมีใบหนา เนื้อใบอ่อนนุ่ม ใบจะห่อหัวอัดกันแน่นคล้ายกะหล่ำปลี ใบที่ห่ออยู่ข้างในจะเป็นมัน บางชนิดมีใบม้วนงอเปราะมีเส้นใบเห็นได้ชัด ขอบใบมีลักษณะเป็นหยัก ขนาดและรูปร่างของใบผักกาดหอมจะแตกต่างกันตามชนิด
             ดอกและช่อดอก :  ดอกผักกาดหอมมีลักษณะเป็นช่อแบบที่เรียกว่า Panicle ประกอบด้วยกลุ่มของดอกที่อยู่เป็นกระจุกตรงยอด แต่ละกระจุกประกอบด้วยดอกย่อย 15-25 ดอกหรือมากกว่า ก้านช่อดอกจะยาวประมาณ 2 ฟุต ช่อดอกอันแรกจะเกิดที่ยอดอ่อน จากนั้นจะเกิดช่อดอกข้างตรงมุมใบขึ้นภายหลัง ช่อดอกที่เกิดจากส่วนยอดโดยตรงจะมีอายุมากที่สุด ส่วนช่อดอกอื่นๆ จะมีอายุรองลงมา ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง ตรงโคนเชื่อมติดกัน รังไข่มี 1 ห้อง เกสรตัวเมียมี 1 อัน มีลักษณะเป็น 2 แฉก เกสรตัวผู้ 5 อัน รวมกันเป็นยอดยาวห่อหุ้มก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียไว้
              เมล็ด:  เมล็ดผักกาดหอมเป็นชนิดเมล็ดเดียว (achene) ซึ่งเจริญมาจากรังไข่อันเดียว เมล็ดจะมีเปลือกหุ้มเมล็ดบาง เปลือกเมล็ดจะไม่แตกเมื่อเมล็ดแห้งเมล็ดของผักกาดหอมมีลักษณะแบนยาว หัวท้ายแหลมเป็นรูปหอก มีเส้นเล็กๆ ลาดยาวไปตามด้านยาวของเมล็ดที่ผิวเปลือกหุ้มเมล็ด เมล็ดมีสีเทาปนครีมความยาวของเมล็ดประมาณ 4 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรกษณะ
2.5  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
        ดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ผักกาดหอมปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในระหว่าง 16-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.0 และเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดวัน


2.6  คุณค่าทางอาหาร
           ผักกาดหอม 100 กรัม ให้พลังงาน 24.00 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 2 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 173.17 ไมโครกรัม เส้นใย 1.80 กรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.18 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 9.00 มิลลิกรัม
2.7  ประโยชน์ของผักกาดหอม

ให้วิตามินซี เบต้าแคโรทีน โฟเลท และธาตุเหล็ก ช่วยป้อง  กันโรคโลติตจาง โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวาน
ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วยวิตามินบี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และลูเทียน (lutein) มียาง (latex) ชื่อ แลคทูคาเรียม (lactucarium) ซึ่งมีระดับสูงมากขณะออกดอก นอกจากนั้นยังมีวิตามินบีสูงด้วย
สรรพคุณของผักกาดหอมและวิธีใช้ผักกาดหอม นั้นมักใช้เป็นผักสลัดมีสารต้านมะเร็งและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับผักสลัดที่มีสีเขียวอื่น ๆ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักกาดหอมคือ ใบ เมล็ด และต้น ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ ค่ะ
- ต้นผักกาดหอมทั้งต้นคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้มาทาฝีมะม่วง (รีดเอาหนองออกก่อน) ใช้ขับพยาธิ แก้พิษ ขับลม เป็นยาระบาย
- ใบผักกาดหอม น้ำคั้นจากใบ ใช้แก้ไอ ทำให้หลับง่าย แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ
- เมล็ดผักกาดหอม ใช้รักษาโรคตับ ขับปัสสาวะ ขับน้ำนม ระงับปวด แก้ปวดเอว และรักษาโรคริดสีดวงทวาร
แพทย์แผนไทยโบราณ ได้จัดผักกาดเป็นสมุนไพร ซึ่งสามารถนำผักจำพวกผักกาดต้มน้ำ ดื่มแก้เจ็บคอ หยดเป็นยาล้างแผลเรื้อรัง หอบหืด อีกวิธีหนึ่งคือ บดผักกาดหรือกวางตุ้ง คั้นเอาแต่น้ำ1 ถ้วย เทลงไปในน้ำเดือดจัด 2 ช้อนโต๊ะตั้งบนไฟ รีบยกออก ทิ้งไว้ให้อุ่น ดื่มแทนน้ำเสริมพลังงาน ลดอาการแก่ชราที่ความจำไม่ค่อยดีได้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของจีน
2.8 สรรพคุณทางยา
           ผักกาดหอมมีแอนติออกซิแดนท์หลายชนิด ช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้














บทที่  3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
3.1  วิธีดำเนินงาน
หลักการวางแผน
1.  ประชุมนักเรียนสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่ว่างของโรงเรียน
2.  วางแผนการเตรียมดิน
3.  คัดเลือกพันธุ์ถั่วฟักยาว
4.  ปฏิบัติตามแผน
5.  ประเมินผลงาน
      6.   เผยแพร่ผลงาน
3.2 วัสดุอุปกรณ์
1.      จอบ
2.      เสียม
3.      ปุ๋ย
4.      บัวรดน้ำ
5.      คราด
6.      ไม้ยาวเพื่อใช้เป็นที่เลื่อยของถั่วฟักยาว
7.      เชือก








บทที่  4
ผลการศึกษา
               จากการศึกษาโครงงานเรื่อง การปลกพืชสวนครัวโดยปลูกถั่วฟักยาว     ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทำให้ทราบการใช้พื้นที่ตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือนและยังได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์มีพระราชดำริให้ประชาชนคนไทย ยืนหยัดอยู่บนความพอเพียงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้สามารถนำมาประกอบอาชีพสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้กับตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี
  



บทที่  5
ผลการศึกษา
สรุปผลการจัดทำโครงงาน
          การปลูกผักกาดหอม สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ทำให้ตนเองสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ระหว่างเรียน ได้สนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ข้อเสนอแนะ
1.ในการทำการปลูกพืชที่โรงเรียนควรใช้พื้นที่ให้เยอะและคุ้มค่ามากกว่านี้
2.ในการทำโครงงานครั้งต่อไปควรมีการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกทำเป็นบ่อเล็กๆ













บรรณานุกรม

ไพทูรย์    ศิริรักษ์.100 ประโยชน์ตาลโตนดไทยผลผลิตวัฒนธรรมชุมชนบนคาบสมุทรสทิงพระ
ป.อังกาพย์ละออง,2551
สุเมธ ตันติเวชกุลเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริบรรยายพิเศษ, 2542
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. “ทฤษฎีใหม่: มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิดในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. อินเทอร์เน็ต .WWW.Google.Com.